วันพุธที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553
ประวัติวัดห้วยขอน
ประวัติวัด วัดห้วยขอน
วัดห้วยขอน ตั้งอยู่เลขที่ 306 บ้านห้วยขอน ตำบลห้วยหม้าย อำเภอสอง จังหวัดแพร่
เบอร์โทรศัพย์ 054-586222 086-6050829 084-4845828
วัดห้วยขอนสร้างเมื่อ วันที่ 5 เดือน เมษายน พ.ศ 2481
วัดห้วยขอน ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ 2486
สังกัดคณะสงฆ์ มหานิกาย
ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่....4......ไร่.................งาน..................ตารางวา
มีอาณาเขต
ทิศเหนือ ติดกับ โรงเรียนบ้านห้วยขอน
ทิศใต้ ติดกับ ลำห้วยห้วยขอน
ทิศตะวันออก ติดกับบ้านห้วยขอนหมู่ที่ ๑๑
ทิศตะวันตก ติดกับบ้านห้วยขอนหมู่ที่ ๓
เสนาสนะภายในวัดประกอบด้วย
๑...กุฏิ กว้าง เมตร ยาว เมตร
จำนวน ๑ หลัง ค่าก่อสร้าง บาท
๒...ศาลาการเปรียญหลังที่ ๑ กว้าง เมตร ยาว เมตร
จำนวน ๑ หลัง ค่าก่อสร้าง บาท
๓...ศาลาการเปรียญหลังที่ ๒ กว้าง เมตร ยาว เมตร
จำนวน ๑ หลัง ค่าก่อสร้าง บาท
๔...อุโบสถ กว้าง เมตร ยาว เมตร
จำนวน ๑ หลัง ค่าก่อสร้าง บาท
๕...เจดีย์ กว้าง เมตร ยาว เมตร
จำนวน ๑ หลัง ค่าก่อสร้าง บาท
ประวัติโดยย่อของการสร้างวัดห้วยขอน
ก่อนนั้นบ้านห้วยขอนเป็นเพียงหมู่บ้านป่าเล็กๆ หมู่บ้านหนึ่งเท่านั้นยังไม่มีวัดวาอารามดัง เช่นปัจจุบัน ชาวบ้านห้วยขอนแต่ก่อนนั้นถ้าหากจะทำบุญตักบาตรก็ต้องไปที่วัดหล่ายร้คง (วัดห้วยหม้ายเดิม) เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2413 วัดหล่ายร้องถูกน้ำยมท่วมพระวิหารและกุฏิถูกน้ำพัดเสียหายหมดจึงได้ย้ายมาสร้างที่วัดห้วยหม้ายในปัจจุบันนี้ ขณะนั้นพระครูอุปทะ เป็นเจ้าอาวาสวัดห้วยหม้ายอยู่ มีชาวบ้านจากบ้านห้วยขอนไปบวชเป็นสามเณรอยู่กับท่าน 4 รูป คือสามเณรการินา เชื้ออ้วน สามเณรยาสมุทร บางโพธิ์ สามเณรอุตทิยะ ขอนรักษ์ สามเณรจินะวงศ์ ขอนปง ตอนแรกไปบวชที่วัดหล่ายร้อง (เป็นเด็กวัด 1 ปี เป็นเณร 2 พรรษา)จากนั้นก็ย้ายกับวัดห้วยหม้ายและจำวัดพรรษาอยู่ที่วัดห้วยหม้ายใหม่นี้อีก 2 พรรษา สามเณรทั้ง 4 รูป ก็ได้พร้อมใจกันจะลาสิกขาทบในเดือนสี่ (เดือน 4 เหนือ) ก่อนถึงกำหนดลาสิกขาบท สามเณรการินตา เชื้ออ้วน ได้รับนิมนต์ไปเทศน์ธรรมที่วัดศรีชุม อ.เมืองแพร่และรับมนต์ต่อไปเทศที่วัดเหมืองหม้อการเดินทางในสมัยก่อนต้องเดินเท้าจึงใช้เวลานานในการเดินทางไป กลับเมื่อสามเณรการินตากลับมาถึงบ้านสามเณรทั้ง 3 รูป ได้ลาสึกไปก่อนและขณะนั้นเป็นวันข้างแรมท่านจะลึกตามสามเณรทั้ง 3 แต่พระครูอุปทะไม่ให้ลึกท่านถึงอยู่ต่อในสมัยนั้นมีพระครูบาแสนจางท่านเดินธุดงค์มาจากเมืองจางได้มาทบเห็นบริเวณวัดห้วยขอนปัจจุบันแต่ก่อนนั้นเป็นป่าไผ่ ที่ตรงป่าไผ่นี้มีต้นศรี (ต้นโพธิ์) อยู่ต้นหนึ่ง (บริเวณศาลผีเสื้อวัดปัจจุบัน) พระครูมาแสนจางได้พบพระพุทธรูปทองเหลืองคอหักอยู่ที่โดนต้นศรีนั้น ในตอนนั้นบ้านห้วยขอนมีชาวบ้านตั้งบ้านเรือนอยู่ 12 หลังคาเรือนเท่านั้นท่านได้พิจารณาและปรึกษากับชาวบ้านและพากันไปปรึกษากับพระครูมาอุปทะวัดห้วยหม้าย เมื่อท่านลงความเห็นว่าสมควรที่จะสร้างวัดได้พระครูบาแสนจางจึงพร้อมกับศรัทธาทำการถากถางบริเวณป่าไม้และได้ทำควรสร้างกุฏิขึ้นชึงทำด้วยไม้ไผ่ทำการสร้างเสร็จ และขึ้นกุฏิใหม่เมื่อเดือน 6 เหนือ สามเณรการินตาได้รับนิมนต์ให้มาประชุมอยู่วัดห้วยขอนกับพระครูบาแสนจางก่อนจะเข้าพรรษาในปีนั้น พระครูบาแสนจางได้หายไปจากวัดชาวบ้านได้ช่วยกันตามและสืบหาก็ไม่พบไม่ทราบว่าท่านไปอยู่ไหนชาวบ้านคิดว่าพระครูบาแสนจางเป็นเทวดามาโปรดให้สร้างวัดเสร็จก็จงเหลืองแต่สามเณรการินตา เชื้ออ้วนเพียงรูปเดียวท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดห้วยขอนนี้อีก 2 พรรษาก็ได้อุปสมทบเมื่อเดือน พฤษภาคม พ.ศ.2416 เดือน 8 เหนือ เป็นพระการินตา เชื้ออ้วนและได้เป็นเจ้าอาวาสรูปแรกของวัดห้วยขอนพอถึงเดือน กันยายน เดือน 12 เหนือบริเวณวัดมีหญ้าขึ้นรกลุงชาวบ้านทั้ง 12 หลังคาเรือนได้มาช่วยกันดายหญ้าวัดมีหนึ่งคนได้เอาเสียบไปแชะถูกก้อนหินที่ปิดบ่อน้ำ(บ่อน้ำที่ใช้ดื่มกินใน บริเวณวัดปัจจุบัน)บ่อน้ำแห่งนี้ไม่ใช่บ่อน้ำที่ชาวบ้าน 12 หลังคาเรือนสร้างขึ้นแต่เป็นบ่อน้ำที่มีมาก่อนซึ่งคนโบราณได้สร้างไว้ พอถึงหน้าแล้งชาวบ้านได้ช่วยกันรื้อบ่อน้ำนี้เพื่อจะได้ใช้ดื่มกินต่อไปการรื้อบ่อน้ำชาวบ้านได้พบค้อนขนาดใหญ่ 1 ใบ ขนาดเขือง 1 ใบ และได้พบพระพุทธรูปทอง 3 องค์ ขนาดหน้าตักกว้าง 6 นิ้ว 2 องค์ และองค์เล็กอีก 1 องค์ ปัจจุบันเหลือแต่องค์เล็กส่วนองค์ใหญ่ถูกขโมยไปหมดในสมัย (พระธรรมสอน ตาคำ) เป็นเจ้าอาวาสส่วนฆ้องใบใหญ่ขนาดเขืองนั้นแตก (พระครูญาณวิภูษิต)ได้เอาแลกฆ้องขนาดเล็กของชาวลำพูนไป ส่วนฆ้องใบที่ใหญ่ที่สุด ที่มีอยู่ในวัด ปัจจุบันนี้ตามคำบอกเล่าของ(พ่อหนานหลวงการินตา เชื้ออ้วน)ได้เล่าสู่ไว้ว่าวัดนี้แต่เดิมเป็นวัดของม่านที่รู้ว่าเป็นของม่านได้นั้นเพราะตอนที่ถางถางบริเวณวัดนี้เสร็จชาวบ้านได้เชิญเอาผีปู่เสื้อมาจากบ้านเหมืองค่า อ. เมือง คนทรงของเจ้าปู่เสื้อชื่อว่า (ปู่ป๊อก)สมัยนั้นการทรงผีของเจ้าปู่เสื้อครั้งนี้ได้ใช้ภาษาม่านและผีเจ้าปู่เสื้อบอกว่าเป็นผีม่าน และที่คิดว่าบ้านห้วยขอนแต่เดิมคงเป็นบ้านของม่านนั้นเพราะได้พบบ่อน้ำโบราณอีกแห่งหนึ่งคือที่บ้านของ(พ่อเฒ่าทิดอ้วน แม่เฒ่าทา เชื้ออ้วน)หรือบ้านของ(นายสูริยนต์ นาง
( ประวัติบ้านห้วยขอนที่เล่ามานี้(พ่อหนานแน่น พลายกลาง)ได้จดจำมาจากคำบอกเล่าของพ่อหนานหลวงการินตาบุตรของพ่อเฒ่าทิดอ้วน แม่เฒ่าทา เชื้ออ้วน)ซึ่งเล่าสู่(พ่อหนานแน่น พลายกลาง ตอนที่ยังบวชเป็นสามเณรอยู่)
วันพุธที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2553
วันอังคารที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2553
ประวัติเจ้าอาวาสวัดห้วยขอน (ปัจจุบัน)
พระอธิการกิตติคุณ กิตฺติโสภโณ นามสกุล รักพงษ์
เกิด ๑๐ ก.ค.๒๔๙๖ พรรษา ๗ นักธรรมเอก
บุตร นายวรศักดิ์ นางไฉน รักพงษ์
พี่น้องรวมกัน ๕ คน
๑.พระกิตติคุณ กิตฺติโสภโณ
๒.นายศฤงคาร รักพงษ์
๓.นายวิโรจน์ รักพงษ์
๔.นายณรงค์ รักพงษ์
การศึกษา
พ.ศ.๒๕๐๓-๒๕๐๖ ป.๑ - ป.๔ โรงเรียนบ้านโทกค่า ตำบลหัวเมือง อำเภอสอง จังหวัดแพร่
พ.ศ.๒๕๐๗-๒๕๑๑ ป.๕-ม.ศ.๒ โรงเรียนเจริญราษฏร์ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่
พ.ศ.๒๕๑๒ ม.ศ.๓ โรงเรียนประชาสรรศ์วิทยาตำบลบ้านกลาง อำเภอสอง จังหวัดแพร่
พ.ศ.๒๕๑๓ – ๒๕๑๔ โรงเรียนจ่าอากาศ (เหล่าช่างอากาศ) ดอนเมือง กรุงเทพ
พ.ศ.๒๕๓๗ จบปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขารัฐประศาสนศาสตร์
ตำแหน่งหน้าที่เจ้าอาวาสในอดีต – ปัจจุบัน
-รับราชการกองทัพอากาศ ตั้แต่ ปี พ.ศ.๒๕๑๕ – ๒๕๔๗
-ตำแหน่งก่อนลาออกจากราชการ นายทหารข่าว กรมข่าวทหารอากาศ
-นาวาอากาศโทกิตติคุณ รักพงษ์
-ลาออกจากราชการก่อนเกษียณอายุราชการ เมื่อวันที่๑ เมษายน๒๕๔๗
-อุปสมบทที่วัดห้วยขอน เมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๔๗
แผนงานโครงการต่างๆที่สร้างสำเร็จและจะดำเนินต่อไป
พ.ศ.๒๕๔๙ – พ.ศ.๒๕๕๑ แผนงานโครงการต่างๆ ที่สร้างสำเร็จ และจะดำเนินการสร้างต่อไป
พ.ศ.๒๕๔๙-๒๕๕๑ สร้างศาลการเปรียญ ๑ หลัง ใช้งบประมาณ๙๙๐,๕๔๒ บาท(เก้าแสนเก้าหมื่นห้าร้องสี่สิบสองบาท)
พ.ศ.๒๕๕๐ บูรณะหลังคากุฏิ ใช้งบประมาณ ๑๙๑,๕๔๒ บาท (หนึ่งแสนเก้าหมื่นห้าร้อยสี่สิบสองบาท)
พ.ศ.๒๕๕๐ สร้างห้องน้ำห้องสุขา ๑ หลัง ๕ ห้องใช้งบประมาณ๓๐๐,๐๐๐บาท(สามแสนบาท)ผู้ริเริ่มพระกิตติคุณกิตฺติโสภโณภิกขุ พร้อมด้วยผู้บริจาคทรัพย์สิ่ของไม้สัก เจ้าภาพงานผ้าป่า เจ้าภาพงานกฐิน พร้อมด้วยคณะกรรมการวัด คณะศรัทธาวัดห้วยขอน ทุกหลังคาเรือน
พ.ศ.๒๕๔๙-๒๕๕๑ จัดสนับสนุนทุนการศึกษา ให้แก่โรงเรียนบ้านห้วยขอน ในงานวันเด็กแห่งชาติทุกปี
พ.ศ.๒๕๔๙-๒๕๕๑ จัดโครงการปฏิบัติธรรมที่วัด โดยมีนักเรียนคณะศรัทธาร่วมปฏบัติ จำนวน ๓๐๐ คน ๔ รุ่น
- บูรณะปฏิสังขรพระอุโบสถ(วิหาร) ซึ่งชำรุดไปมากแล้
- จัดสร้างสวนสุขภาพบริเวณด้านหน้าทิศตะวันออก
- จัดหาเงินร่วมสมทบซื้อที่ดินด้านทิศตะวันออกของโรงเรียนบ้านห้วยขอนงบประมาณที่ได้รับ จากเจ้าภาพงานกฐินสามัคคี ร่วมด้วยคณะศรัท ธาวัดห้วยขอน
พ.ศ.๒๕๔๙ กฐินผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ สาธารณสุขจังหวัดแพร่และคณะฯศรัทธาวัดห้วยขอน จำนวน ๔๐,๐๐๐ บาท (สี่หมื่นบาท)
พ.ศ.๒๕๕๐ กฐินนายปะทีป แสนแก้วทอง และคณะจากจังหวัดอุทัยธานีพร้อมด้วยสรัทธาวัดห้วยขอนจำนวน ๒๑๓,๔๒๑ บาทผ (สองแสนหนึ่งหมื่นสามพันสี่ร้อยยี่สิบเอ็ดบาท)
พ.ศ.๒๕๕๑ กฐินคุณวีระ คุณเพ็ญจันทร์ เดชธำรง พร้อมคณะจากกรุงเทพ คุณโสภา เชื้อ้วน จำนวน๔๐๐,๐๐๐ บาท(สี่แสนบาท)
สิ่งสำคัญภายในวัด
พระประธาน สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๖๘ ทำโดยพระอนันทะ พร้อมด้วยคณะศรัทธาสร้างพระพุทธ
รูปก่อด้วยอิฐ ๑ องค์ สิ้นค้าก่อสร้าง ๒๒๐ บาท
อุโบสถ หลังแรกสร้างแรกเมื่อพ.ศ.๒๔๔๙ นำโดยพระอุตตะมาพร้อมด้วย คุณศรัทธา สินค้าก่อสร้าง ๓,๐๐๐บาท
หลังที่สอง รื้อหลังแรก แล้วสร้างใหม่ที่เดิมในปี พ.ศ.๒๔๘๐ นำโดยพระก๋วน ( พระคุณญาณวิภูษิต) และคณะศรัทธา สินค้าก่อสร้าง ๘๐,๕๐๐ บาท
การสร้างพระธาตุ สร้างเมื่อพ.ศ.๒๕๓๑ วัตถุประสงค์เพื่อเก็บบรรจุพระพุทธรูปสิงห์ หนึ่ง ขัดสมาธิเพชร
ซึ่งเป็นพระพุทธเก่าแก่ ประมาณค่ามิได้ พร้อมบรรจุวัตถุมงคลเก่าแก่ของวัดห้วยขอน
นำโดย พระอธิการสีวะ ฐิตปญฺโญภิกขุ พร้อมด้วย พ่อหนานแน่น พลายกลาง พ่ออาจารย์สังวร ขอนพิกุล คณะศรัทธาวัดห้วยขอนและคณะกรรมการวัด
ตู้พระไตรปิฎก เมื่อเป็นแหล่งการศึกษา พุทธประวัติพระธรรมวินัย หลักคำสอน หลักปฏิบัติ ของพระพุทธเจ้า ถวายวัดห้วยขอน โดยนายประทีป นางทัศนีย์ แสนแก้วทอง จำนวนเงิน ๒๐,๐๐๐ บาท (เมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๐)
สวนหย่อม เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ จัดสร้างเพื่อสร้างเพื่ออุทิศให้พ่ออาจารย์สังวร แม่พวงศรี ขอนพิกุล จัดสร้างโดย นายประทีป นางทัศนีย์ แสนแก้วทอง นายโกเมนทร์ นางสุภาภรณ์ หัวนา นายชวลิต นางพัฒนา ขอนพิกุล นายสุวัติ นางนิตยา ขอนพิกุล พร้อมด้วย บุตร – ธิดา หลานทุกคน จำนวนเงิน๑๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนบาท)