วันพุธที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ประมวลภาพงานสลากภัตร (ตานก๋วยสลาก) วัดห้วยขอน


















ประวัติวัดห้วยขอน

ประวัติวัด วัดห้วยขอน

วัดห้วยขอน ตั้งอยู่เลขที่ 306 บ้านห้วยขอน ตำบลห้วยหม้าย อำเภอสอง จังหวัดแพร่

เบอร์โทรศัพย์ 054-586222 086-6050829 084-4845828

วัดห้วยขอนสร้างเมื่อ วันที่ 5 เดือน เมษายน พ.ศ 2481

วัดห้วยขอน ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ 2486

สังกัดคณะสงฆ์ มหานิกาย

ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่....4......ไร่.................งาน..................ตารางวา

มีอาณาเขต

ทิศเหนือ ติดกับ โรงเรียนบ้านห้วยขอน

ทิศใต้ ติดกับ ลำห้วยห้วยขอน

ทิศตะวันออก ติดกับบ้านห้วยขอนหมู่ที่ ๑๑

ทิศตะวันตก ติดกับบ้านห้วยขอนหมู่ที่

เสนาสนะภายในวัดประกอบด้วย

๑...กุฏิ กว้าง เมตร ยาว เมตร

จำนวน ๑ หลัง ค่าก่อสร้าง บาท

๒...ศาลาการเปรียญหลังที่ ๑ กว้าง เมตร ยาว เมตร

จำนวน ๑ หลัง ค่าก่อสร้าง บาท

๓...ศาลาการเปรียญหลังที่ ๒ กว้าง เมตร ยาว เมตร

จำนวน ๑ หลัง ค่าก่อสร้าง บาท

๔...อุโบสถ กว้าง เมตร ยาว เมตร

จำนวน ๑ หลัง ค่าก่อสร้าง บาท

๕...เจดีย์ กว้าง เมตร ยาว เมตร

จำนวน ๑ หลัง ค่าก่อสร้าง บาท

ประวัติโดยย่อของการสร้างวัดห้วยขอน

ก่อนนั้นบ้านห้วยขอนเป็นเพียงหมู่บ้านป่าเล็กๆ หมู่บ้านหนึ่งเท่านั้นยังไม่มีวัดวาอารามดัง เช่นปัจจุบัน ชาวบ้านห้วยขอนแต่ก่อนนั้นถ้าหากจะทำบุญตักบาตรก็ต้องไปที่วัดหล่ายร้คง (วัดห้วยหม้ายเดิม) เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2413 วัดหล่ายร้องถูกน้ำยมท่วมพระวิหารและกุฏิถูกน้ำพัดเสียหายหมดจึงได้ย้ายมาสร้างที่วัดห้วยหม้ายในปัจจุบันนี้ ขณะนั้นพระครูอุปทะ เป็นเจ้าอาวาสวัดห้วยหม้ายอยู่ มีชาวบ้านจากบ้านห้วยขอนไปบวชเป็นสามเณรอยู่กับท่าน 4 รูป คือสามเณรการินา เชื้ออ้วน สามเณรยาสมุทร บางโพธิ์ สามเณรอุตทิยะ ขอนรักษ์ สามเณรจินะวงศ์ ขอนปง ตอนแรกไปบวชที่วัดหล่ายร้อง (เป็นเด็กวัด 1 ปี เป็นเณร 2 พรรษา)จากนั้นก็ย้ายกับวัดห้วยหม้ายและจำวัดพรรษาอยู่ที่วัดห้วยหม้ายใหม่นี้อีก 2 พรรษา สามเณรทั้ง 4 รูป ก็ได้พร้อมใจกันจะลาสิกขาทบในเดือนสี่ (เดือน 4 เหนือ) ก่อนถึงกำหนดลาสิกขาบท สามเณรการินตา เชื้ออ้วน ได้รับนิมนต์ไปเทศน์ธรรมที่วัดศรีชุม อ.เมืองแพร่และรับมนต์ต่อไปเทศที่วัดเหมืองหม้อการเดินทางในสมัยก่อนต้องเดินเท้าจึงใช้เวลานานในการเดินทางไป กลับเมื่อสามเณรการินตากลับมาถึงบ้านสามเณรทั้ง 3 รูป ได้ลาสึกไปก่อนและขณะนั้นเป็นวันข้างแรมท่านจะลึกตามสามเณรทั้ง 3 แต่พระครูอุปทะไม่ให้ลึกท่านถึงอยู่ต่อในสมัยนั้นมีพระครูบาแสนจางท่านเดินธุดงค์มาจากเมืองจางได้มาทบเห็นบริเวณวัดห้วยขอนปัจจุบันแต่ก่อนนั้นเป็นป่าไผ่ ที่ตรงป่าไผ่นี้มีต้นศรี (ต้นโพธิ์) อยู่ต้นหนึ่ง (บริเวณศาลผีเสื้อวัดปัจจุบัน) พระครูมาแสนจางได้พบพระพุทธรูปทองเหลืองคอหักอยู่ที่โดนต้นศรีนั้น ในตอนนั้นบ้านห้วยขอนมีชาวบ้านตั้งบ้านเรือนอยู่ 12 หลังคาเรือนเท่านั้นท่านได้พิจารณาและปรึกษากับชาวบ้านและพากันไปปรึกษากับพระครูมาอุปทะวัดห้วยหม้าย เมื่อท่านลงความเห็นว่าสมควรที่จะสร้างวัดได้พระครูบาแสนจางจึงพร้อมกับศรัทธาทำการถากถางบริเวณป่าไม้และได้ทำควรสร้างกุฏิขึ้นชึงทำด้วยไม้ไผ่ทำการสร้างเสร็จ และขึ้นกุฏิใหม่เมื่อเดือน 6 เหนือ สามเณรการินตาได้รับนิมนต์ให้มาประชุมอยู่วัดห้วยขอนกับพระครูบาแสนจางก่อนจะเข้าพรรษาในปีนั้น พระครูบาแสนจางได้หายไปจากวัดชาวบ้านได้ช่วยกันตามและสืบหาก็ไม่พบไม่ทราบว่าท่านไปอยู่ไหนชาวบ้านคิดว่าพระครูบาแสนจางเป็นเทวดามาโปรดให้สร้างวัดเสร็จก็จงเหลืองแต่สามเณรการินตา เชื้ออ้วนเพียงรูปเดียวท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดห้วยขอนนี้อีก 2 พรรษาก็ได้อุปสมทบเมื่อเดือน พฤษภาคม พ.ศ.2416 เดือน 8 เหนือ เป็นพระการินตา เชื้ออ้วนและได้เป็นเจ้าอาวาสรูปแรกของวัดห้วยขอนพอถึงเดือน กันยายน เดือน 12 เหนือบริเวณวัดมีหญ้าขึ้นรกลุงชาวบ้านทั้ง 12 หลังคาเรือนได้มาช่วยกันดายหญ้าวัดมีหนึ่งคนได้เอาเสียบไปแชะถูกก้อนหินที่ปิดบ่อน้ำ(บ่อน้ำที่ใช้ดื่มกินใน บริเวณวัดปัจจุบัน)บ่อน้ำแห่งนี้ไม่ใช่บ่อน้ำที่ชาวบ้าน 12 หลังคาเรือนสร้างขึ้นแต่เป็นบ่อน้ำที่มีมาก่อนซึ่งคนโบราณได้สร้างไว้ พอถึงหน้าแล้งชาวบ้านได้ช่วยกันรื้อบ่อน้ำนี้เพื่อจะได้ใช้ดื่มกินต่อไปการรื้อบ่อน้ำชาวบ้านได้พบค้อนขนาดใหญ่ 1 ใบ ขนาดเขือง 1 ใบ และได้พบพระพุทธรูปทอง 3 องค์ ขนาดหน้าตักกว้าง 6 นิ้ว 2 องค์ และองค์เล็กอีก 1 องค์ ปัจจุบันเหลือแต่องค์เล็กส่วนองค์ใหญ่ถูกขโมยไปหมดในสมัย (พระธรรมสอน ตาคำ) เป็นเจ้าอาวาสส่วนฆ้องใบใหญ่ขนาดเขืองนั้นแตก (พระครูญาณวิภูษิต)ได้เอาแลกฆ้องขนาดเล็กของชาวลำพูนไป ส่วนฆ้องใบที่ใหญ่ที่สุด ที่มีอยู่ในวัด ปัจจุบันนี้ตามคำบอกเล่าของ(พ่อหนานหลวงการินตา เชื้ออ้วน)ได้เล่าสู่ไว้ว่าวัดนี้แต่เดิมเป็นวัดของม่านที่รู้ว่าเป็นของม่านได้นั้นเพราะตอนที่ถางถางบริเวณวัดนี้เสร็จชาวบ้านได้เชิญเอาผีปู่เสื้อมาจากบ้านเหมืองค่า อ. เมือง คนทรงของเจ้าปู่เสื้อชื่อว่า (ปู่ป๊อก)สมัยนั้นการทรงผีของเจ้าปู่เสื้อครั้งนี้ได้ใช้ภาษาม่านและผีเจ้าปู่เสื้อบอกว่าเป็นผีม่าน และที่คิดว่าบ้านห้วยขอนแต่เดิมคงเป็นบ้านของม่านนั้นเพราะได้พบบ่อน้ำโบราณอีกแห่งหนึ่งคือที่บ้านของ(พ่อเฒ่าทิดอ้วน แม่เฒ่าทา เชื้ออ้วน)หรือบ้านของ(นายสูริยนต์ นางมุกดา แสนอุ้ม)ในปัจจุบันนี้

( ประวัติบ้านห้วยขอนที่เล่ามานี้(พ่อหนานแน่น พลายกลาง)ได้จดจำมาจากคำบอกเล่าของพ่อหนานหลวงการินตาบุตรของพ่อเฒ่าทิดอ้วน แม่เฒ่าทา เชื้ออ้วน)ซึ่งเล่าสู่(พ่อหนานแน่น พลายกลาง ตอนที่ยังบวชเป็นสามเณรอยู่)